คำแนะนำการขอหมายเลข ISBN

เกี่ยวกับเรา

International Standard Book Number (ISBN) คือ เลขรหัสสากลที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือทั่วไป มีความมุ่งหมายให้เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือแต่ละชื่อเรื่อง เพื่อความสะดวก ถูกต้องในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้านการสั่งซื้อ การแลกเปลี่ยน

International Standard Serial Number (ISSN) คือ เลขรหัสสากลที่กำหนดขึ้นใช้สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทวารสารทั่วไป มีความมุ่งหมายให้เป็นเอกลักษณ์ของวารสารแต่ละชื่อเรื่อง เพื่อความสะดวก ถูกต้องในการควบคุมข้อมูลสิ่งพิมพ์ด้านการสั่งซื้อ การแลกเปลี่ยน

หอสมุดฯ ยินดีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อขอรับหมายเลข ISBN และ ISSN ให้แก่ผู้ผลิตและสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเผยแพร่ชิ้นงาน ของท่านต่อไป

การติดต่อ

จันทิมา จริยวัตกุล
ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดชำนาญงานพิเศษ
หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เลขที่ 181 ถ.เจริญประดิษฐ์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
+66 (73) 313-928 ถึง 45 ต่อ 1410 และ 1424 (ภายใน)
+66 (73) 313-486
+66 (73) 333-587
jantima.j@psu.ac.th
oar@psu.ac.th
http://tanee.oas.psu.ac.th

เวลาเปิดบริการของหอสมุดฯ

วัน เวลา
จันทร์ - ศุกร์ 08.30 - 20.30 น.
เสาร์ - อาทิตย์ 10.00 - 18.00 น.
วันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดบริการ
* IT-Zone ปิดบริการก่อนห้องสมุดปิด 30 นาที
* ผู้ใช้บริการสามารถคืนหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุด้วยตนเองโดยไม่ต้องเข้าห้องสมุด ผ่านทางตู้รับคืนทรัพยากรสารสนเทศ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักวิทยบริการ

คำแนะนำการขอหมายเลข ISBN

1. ผู้ยื่นคำร้องจะต้องกรอกข้อมูลสำคัญให้ครบถ้วน พร้อมแนบไฟล์ หน้าปก หน้าปกใน หน้าลิขสิทธิ์ หน้าสารบัญ และ หน้าเรื่องย่อ
2. ผู้ยื่นคำร้องจะได้รับหมายเลข ISBN หลังจากยื่นคำร้อง 3-5 วันทำการ โดยระบบจะทำการแจ้งเตือนการอัพเดทสถานะคำร้องไปยังอีเมลผู้ยื่นคำร้อง และสามารถตรวจสอบสถานะคำร้องขอ ISBN ได้ทางเว็บไซต์นี้ หรือสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่หมายเลข 073 313928-45 ต่อ 1410 (ภายใน 1410 และ 1424)
3. รายการสิ่งพิมพ์ที่สามารถขอหมายเลข ISBN ได้ประกอบด้วย

  • หนังสือ
  • สิ่งพิมพ์อักษรเบรลล์
  • สิ่งพิมพ์สื่อประสมที่ประกอบด้วยตัวหนังสือเป็นหลัก
  • วีดีโอ ฟิล์ม แผ่นใส ที่มีเนื้อหาทางการศึกษา
  • หนังสือเสียง ประเภท เทป วีดี ดีวีดี
  • สิ่งพิมพ์ในรูปวัสดุย่อส่วน
  • ซอฟแวร์ด้านการศึกษา
  • สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เทปแม่เหล็กบันทึกข้อมูล ซีดีรอม
  • แผนที่ (Maps)
4. รายการสิ่งพิมพ์ที่ไม่ต้องขอหมายเลข ISBN ได้ประกอบด้วย

  • สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่กำหนดออกเป็นวาระ เช่น วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์
  • สิ่งพิมพ์อายุการใช้งานสั้น เช่น สิ่งพิมพ์โฆษณา รายการสินค้า รายชื่อร้านค้า สมุดบันทึก ปฏิทิน โปรแกรมภาพยนตร์ สูจิบัตรงานประเภทต่าง ๆ
  • เนื้อเพลง
  • งานศิลปะเป็นเล่ม หรือแผ่น ไม่มีชื่อเรื่องและเนื้อหา
  • ข้ออมูลส่วนบุคคล เช่น แฟ้มประวัติการศึกษา ผลงานส่วนตัว
  • บัตรอวยพร บัตรคำ
  • แผ่นบันทึกเสียงเพลง
  • ซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ด้านการศึกษาหรือการสอน
  • กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bulletin Board)
  • เกมส์
  • หลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา
  • สมุดภาพระบายสี สมุดแบบฝึกหัด
  • ผลงานทางวิชาการที่ขอปรับระดับในสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ สิ่งพิมพ์ฉบับสำเนาที่ไม่ได้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ เช่น รายงานผลการวิจัยเฉพาะบุคคลหรือของหน่วยงาน
5. เมื่อผู้ยื่นคำร้องจัดพิมพ์สิ่งพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องส่งให้หอสมุดแห่งชาติจำนวน 2 ฉบับตามที่อยู่ด้านล่างนี้
กลุ่มงานบริการพิเศษ ISSN ISBN จดแจ้งการพิมพ์
กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ถ.สามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์: 0-2280-9845, 0-2280-9828-32 ต่อ 135, 140
โทรสาร: 0-2280-9858
e-Mail: isbn@nlt.go.th, issn@nlt.go.th


ไฟล์ที่เกี่ยวข้อง

1. หน้าปก 2. หน้าปกใน 3. หน้าลิขสิทธิ์ 4. หน้าสารบัญ 5. หน้าเรื่องย่อ

หน้าลิขสิทธิ์
หน้าที่อยู่หลังปกใน ซึ่งจะมีแจ้งรายละเอียดของหนังสือ เช่น ชื่อหนังชื่อ, ชื่อผู้แต่ง, จำนวนหน้า, ราคา, หมายเลข ISBN, ปีที่พิมพ์, ครั้งที่พิมพ์, จัดทำโดย และ พิมพ์ที่ (ตัวอย่างแบบที่ 1, ตัวอย่างแบบที่ 2, ตัวอย่างแบบที่ 3, ตัวอย่างแบบภาษาอังกฤษ)

หน้าสารบัญ
หน้าที่บอกให้ทราบลำดับในหนังสือ พร้อมบอกเลขหน้ากำกับว่า บท ตอน เรื่องนั้น ๆ อยู่หน้าใดของหนังสือ (ตัวอย่าง)

*การแนบไฟล์ รวบรวมไฟล์ทั้ง 5 โดยการบีบอัดในรูปของ .zip และต้องมีขนาดไม่เกิน 2 MB